Home Automation หรือบางคนเรียกว่า Smart Home คืออะไร? สิ่งที่หลายคนให้ความสนใจ และเริ่มใช้เป็นประจำ เราจะมาทำความเข้าใจว่า มันคืออะไร องค์ประกอบหลัก และมีความสามารถอะไรที่น่าสนใจ
Smart Home คืออะไร?
Smart Home หรือบ้านอัจฉริยะ คือการนำเทคโนโลยี และอินเตอร์เน็ตมาปรับปรุงฟังก์ชั่นต่างๆของบ้าน ให้สามารถควบคุม และจัดการได้ง่ายขึ้น ทำให้การใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยสะดวกสบายยิ่งขึ้น บ้านอัจฉริยะนั้นมักประกอบด้วยระบบต่างๆ ที่สามารถสื่อสารกัน และสามารถควบคุมผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์
อินเตอร์เน็ต เน็ตเวิร์คภายในบ้าน
เราเตอร์แถมจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วระดับ Gigabit (จากโฆษณาซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่ความเร็วแต่มันคือ bandwidth เราจะยังไม่พูดกันตอนนี้) เพียงพอไหมที่จะทำบ้าน Smart Home ปัยจัยแรกต้องดูขนาดพื้นที่ของบ้าน และความหนาของกำแพง รวมถึงวัสดุที่ใช้ตามทฤษฎีแล้วคลื่น 5 GHz มีอำนาจในการทะลุทะลวงสูง แต่ไปได้ไม่ไกล ซึ่งก็มีไม่กี่อุปกรณ์ที่รองรับคลื่นนี้ ยกตัวอย่างเช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ หรือทีวี
ส่วนคลื่น 2.4 GHz จะสามารถไปได้ไกล แต่มีอำนาจในการทะลุทะลวงต่ำ บ้านที่มีกำแพงอิฐตัน กำแพงสองชั้น หรือครอบด้วยวัสดุที่เป็นโลหะ สบายใจได้เลยว่าสัญญาณที่จะไปถึงห้องข้างๆนั้นน้อยมาก ซึ่งอุปกรณ์ Smart Home ส่วนใหญ่รองรับคลื่น 2.4 GHz และมีกำลังส่งต่ำ
ดังนั้นการออกแบบระบบเน็ตเวิร์คควรใส่ใจเรื่องความครอบคลุมพื้นที่ของ Wi-Fi เป็นหลัก แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า Wi-Fi ครอบคลุมทั่วทั้งบ้านเช็กโดยการเชื่อมต่อสมาร์ทโฟนเข้ากับ Wi-Fi บ้าน แล้วเดินช้าๆดูสัญญาณในจุดที่ต้องการจะติดตั้ง Smart Device แนะนำว่าจุดนั้นสัญญาณที่สมาร์ทโฟนควรจะเต็ม เพราะเสาสัญญาณของ Smart Device นั้นเล็กกว่าสมาร์ทโฟนถ้าเช็กด้วยสมาร์ทโฟนแล้วสัญญาณไม่เต็มมีความเป็นไปได้เมื่อติดตั้ง Smart Device จะไม่เสถียร
เมื่อมีจุดที่สัญญาณอ่อนมีวิธีแก้อย่างเช่น ติดตั้ง Mesh Wi-Fi หรือติดตั้ง Access Point ซึ่ง Access Point แนะนำให้มีฟังก์ชันการ Roming อธิบายสั้นๆคือ เมื่อ Client เดินจากจุด A ไป B เมื่อ A สัญญาณอ่อน B สัญญาณแรงระบบจากส่ง Client ให้ไปเกาะที่ B อัตโนมัติ ต่างจากแบบธรรมดาคือ Client จะพยายามเกาะ A ไม่ปล่อยแม้สัญญาณอ่อนจนกว่าจะหลุดไปเองแล้วสแกนหาใหม่ เจอ B จึงไปเกาะ
ส่วนการออกแบบ Wi-Fi เบื้องต้นดูได้จากรูปนี้
ประเภทของอุปกรณ์
อุปกรณ์ควบคุม (Control Devices)
อุปกรณ์ที่ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยตรง ที่นิยมที่สุดก็คงหนีไม่พ้นปลั๊กไฟอัจฉริยะ (Smart Plug) ที่มีให้เลือกหลายหลายแบรนด์ และราคาที่เข้าถึงง่าย เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์แรกของคนส่วนใหญ่
Smart Plug
Smart Plug แบบฝังผนัง
สวิตช์อัจฉริยะ (Smart Switch) ก็เป็นที่นิยมไม่แพ้กัน แต่การติดตั้งผู้ใช้จำเป็นต้องมีความรู้ด้านไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัย สวิตช์อัจฉริยะมีให้เลือกใช้งานหลายแบบเช่น
Smart Switch
Smart Switch แบบฝังผนัง
รีโมทควบคุม (Universal IR Remote Control) การเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อย่างเช่น ทีวี เครื่องปรับอากาศ หรือพัดลม ที่มีรีโมทอินฟาเรดเราสามารถรวมรีโมททุกอื่นไว้ที่รีโมทอันเดียว ซึ่งการใช้งานจะใช้คู่กับสมาร์ทโฟน แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าบางรุ่นที่ไม่มีคำสั่งรีโมทมาให้ในแอปพลิเคชัน จำเป็นต้องสอนให้ Universal IR Remote Control รู้จักคำสั่งของรีโมทนั่นๆด้วยตัวเอง
Universal IR Remote Control
เซ็นเซอร์ และตัวรับรู้ (Sensors and Detectors)
เซ็นเซอร์เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ใน Home Automation เปรียบเหมือนประสาทสัมผัสของบ้าน เป็นตัวเริ่มต้นในการเริ่มคำสั่งยกตัวอย่างการใช้งาน เช่น
เซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวมีทั้งแบบพบความเคลื่อนไหวทำงานทันที หรือ PIR ที่จะทำงานเมื่อพบความเคลื่อนไหว และอุณหภูมิความร้อนร่างกายจึงจะทำงาน ตัวอย่าง การใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว เมื่อเดินผ่านให้เปิดไฟอีก 1 นาที ไม่พบความเคลื่อนไหวให้ปิดไฟ
Motion Sensor
PIR Motion Sensor
เซ็นเซอร์อุณหภูมิ และความชื้น นอกจากการใช้งานในบ้านแล้ว ยังนิยมใช้กันในโรงเรือนเพาะปลูกเพื่อทำ Smart Farm
Temperature and Humidity Sensor
อุปกรณ์ควบคุมความปลอดภัย (Security Devices)
ความปลอดภัยเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันอย่างกล้องวงจรปิดคงไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติม
ประตูดิจิทัลโดยทั่วไปจะไม่สามารถเชื่อมต่อกับอะไรได้เลย จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมซึ่งส่วนใหญ่จะมีการเชื่อมต่อผ่าน Bluetooth 2.0 มีระยะสัญญาณอยู่ที่ 10 เมตร สามารถปลดล็อคได้ผ่านสมาร์ทโฟน ถ้าหากต้องการเชื่อมต่อ Wi-Fi เพื่อปลดล็อคจากระยะไกล หรือนอกบ้าน ก็จะมีอุปกรณ์เสริมอีกตัว
กล้องวงจรปิด
Digital Door Lock
อุปกรณ์ควบคุมสภาพแวดล้อมภายใน (Environmental Control Devices)
เครื่องปรับอากาศในประเทศไทยยังมีไม่กี่รุ่นที่รองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi และยิ่งน้อยไปอีกเมื่อบางแบรนด์บังคับให้ใช้เฉพาะแอปพลิเคชันของตัวเอง การนำมาใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นจึงเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก แต่ก็ยังสามารถทำได้ด้วยการใช้ Universal IR Remote Control ที่เราได้เขียนไว้ก่อนหน้านี้
เครื่องฟอกอาการมีปัญหาเดียวกับเครื่องปรับอากาศ คือมีรุ่นที่รองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi เพียงไม่กี่รุ่น
อุปกรณ์อำนวยความสะดวก (Convenience Devices)
ความสะดวกสบายที่มากขึ้นด้วยการควบคุมด้วยเสียง เมื่ออุปกรณ์ภายในบ้านสามารถเข้ากันได้กับ Google Home หรือ Amazon Alexa
nest mini
echo dot
อุปกรณ์เชื่อมต่อ (Connectivity Devices)
การเชื่อมต่อเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับสมาร์ทโฮม ซึ่งแต่ละอุปกรณ์มีมาตราฐานการเชื่อมต่อที่หลากหลายบางอุปกรณ์ใช้ร่วมกันได้ บางอุปกรณ์ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ ผู้ใช้ต้องคำนึงถึงการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์โดยมีมาตราฐานการเชื่อมต่ออย่าง Wi-Fi, Bluetooth, Zigbee, Z-Wave และ Matter
เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจเราจะยกตัวอย่างประเภทการเชื่อมต่อหลักๆมา 3 รูปแบบ
เชื่อมต่อกับ Cloud อย่างเดียว
เมื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับ Wi-Fi ผ่าน Application ของแบรนด์นั้นๆ อุปกรณ์ในบางรุ่นจะเชื่อมต่อผ่าน Cloud ของผู้ผลิตเพียงอย่างเดียว โดยเมื่อมีการสั่งจากสมาร์ทโฟน คำสั่งจะถูกส่งไปที่ Cloud Server แล้วส่งกลับมาที่อุปกรณ์ภายในบ้าน ทำให้เมื่ออินเตอร์เน็ตในบ้านขัดข้องก็จะไม่สามารถสั่งงานอุปกรณ์ได้เช่นกัน และการทำงานในรูปแบบนี้จะมีความหน่วงอยู่ประมาณ 1-2 วินาที ขึ้นอยู่กับอินเตอร์เน็ตของบ้าน และความหนาแน่นของปริมาณการรับ-ส่งข้อมูลของ Cloud Server
เชื่อมต่อกับ Cloud และ Network ภายในบ้าน
รูปแบบนี้จะมีความคล้ายกันกับรูปแบบแรก แตกต่างกันตรงที่เมื่อมีการสั่งอุปกรณ์ภายในวงเน็ตเวิร์คบ้านคำสั่งจะผ่านเร้าเตอร์ไปที่อุปกรณ์โดยตรง และอัปเดตสถานะไปที่ Cloud Server ซึ่งการทำงานรูบแบบนี้จะยังสามารถทำงานได้แม้อินเตอร์เน็ตขัดข้อง และมีความรวดเร็วกว่าแบบแรก ส่วนเมื่ออยู่นอกบ้าน หรือนอกวงเน็ตเวิร์คบ้านก็จะเป็นการสั่งผ่าน Cloud Server (เว้นแต่จะมีการใช้ VPN ซึ่งมีวิธีการที่ซับซ้อนกว่าเราจะยังไม่พูดถึงในบทความนี้ 😄)
เชื่อมต่อกับ Home Server
” 10 อุปกรณ์ 10 แบรนด์ 10 แอปพลิเคชัน
แก้ปัญหาได้ด้วย Home Server “
อีกหนึ่งเรื่องที่น่าปวดหัวคือ อุปกรณ์แต่ละแบรนด์มีแอปพลิเคชันของตัวเอง อุปกรณ์บางแบรนด์ ต่างรุ่น ต่างแอปพลิเคชัน Home Server จึงเข้ามาแก้ปัญหานี้แต่ก็ใช่ว่าจะรองรับทุกอุปกรณ์บนโลก ดังนั้นการเลือกซื้อควรเลือกจากแบรนด์ชั้นนำที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ Home Server ยังเหมาะกับบ้านที่มีอุปกรณ์สมาร์ทโฮมจำนวนมาก หรือความซับซ้อนในการใช้งานโดย Home Server นั้นมีอยู่ 2 ประเภท
- Open-source เกิดจากนักพัฒนาอิสระ หรือผู้ใช้ด้วยกันร่วมกันพัฒนาขึ้นมาสามารถติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ หรือไมโครคอนโทรลเลอร์
- ข้อดี
- รองรับอุปกรณ์จากหลากหลายแบรนด์สามารถใช้ร่วมกันได้
- อุปกรณ์มีราคาไม่สูง
- ปรับแต่งได้ตามความต้องการ
- ข้อเสีย
- มีความเสถียรน้อยกว่าของ Official Brand จำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญดูแล (ซึ่งเรา Connext System มีให้บริการ 😂 แอบขายของหน่อย)
- ข้อดี
- Official Brand ถูกพัฒนามาเพื่อใช้คู่กับอุปกรณ์ของแบรนด์นั่นๆ
- ข้อดี
- มีความเสถียรสูง เพราะถูกพัฒนามาเพื่ออุปกรณ์ของแบรนด์โดยเฉพาะ
- ข้อเสีย
- ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ของแบรนด์อื่นไม่ได้
- อุปกรณ์มีราคาสูง
- ข้อดี
ขั้นตอนในการออกแบบ และสร้าง Smart Home
จิตนาการถึงบ้านในฝันของคุณ
ต้องบอกว่า คิดให้มากแล้วลด ดีกว่าคิดน้อยแล้วเพิ่มทีหลัง เพราะการจะสร้างบ้าน Smart Home ที่ดีต้องเริ่มวางระบบตั้งแต่งานโครงสร้าง คนส่วนมากเข้าใจว่าสร้างบ้านให้เสร็จก่อนแล้วสิ่งอำนวยเอาไว้ทีหลัง ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด ถ้ายอมรับได้ว่าการต่อเติมบ้านทีหลัง จะมีท่อวางระบบสายไฟฟ้า ต้องเจาะ ต้องรื้อสายไฟฟ้าภายใน แน่นอนในเรื่องความสวยงามอาจจะไม่เท่าการวางระบบสายภายในตั้งแต่แรก เว้นแต่บางคนจะชอบงานท่อ
ออกแบบ วางแผน และเลือกอุปกรณ์
เริ่มต้นออกแบบเลือกอุปกรณ์ และรูปแบบการเชื่อมต่อ เราจะทำเป็นเช็คลิสต์เพื่อช่วยในการออกแบบ
- ระบบอินเตอร์เน็ต เน็ตเวิร์คภายในบ้าน มีความเสถียรครอบคุมทั่วทั้งบ้าน หรือไม่? และสามารถรองรับอุปกรณ์จำนวณมากได้ หรือไม่?
- ระบบไฟฟ้าในจุดที่ต้องการใช้ Smart Device วางสายไฟฟ้าไว้ตามที่อุปกรณ์ต้องการหรือไม่?
- อุปกรณ์ที่ต้องการใช้ทุกชิ้นมีความเข้ากันได้หรือไม่?
การดูแล และบำรุงรักษา
แน่นอนว่าบ้านของเราไม่ได้อยู่กันแค่วันสองวัน ดังนั้นการอัพเดตอุปกรณ์ บำรุกรักษา เพื่อให้ใช้งานได้ในระยะยาวจึงเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ อย่างเช่น เซ็นเซอร์ที่ส่วนใหญ่จะมีการใช้งานแบตเตอรี่ที่ควรเปลี่ยนทุก 1 ปี เพื่อให้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และไม่ขัดข้องในเวลาสำคัญ หรือบางการอัพเดตการตั้งค่าของอุปกรณ์อาจเปลี่ยนไปจำเป็นต้องตั้งค่าใหม่เพื่อให้ใช้งานได้อย่างราบรื่น
ประโยชน์ของ Smart Home
ความปลอดภัย
ระบบความปลอดภัย อย่างสถานะการเปิด-ปิด ของประตูหน้าต่าง การตรวจจับการเคลื่อนไหว หรือการตรวจจับควัน สามารถช่วยป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และแจ้งเตือนผู้ใช้ทันทีเมื่อเกิดปัญหา
ประหยัดพลังงาน
อาจดูเป็นเรื่องเล็กๆ แต่การปิดไฟ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในเวลาที่ไม่ได้ใช้อัตโนมัติ สามารถปรับการใช้พลังงานให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้ ช่วยลดการใช้พลังงานไม่จำเป็น และประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
ความสะดวกสบาย
บ้านอัจฉริยะทำให้การควบคุม และจัดการฟังก์ชั่นต่างๆ ของบ้านง่ายขึ้น สามารถควบคุมคุมบ้านด้วยเสียงอาจจะไม่ใช่เรื่องที่น่าตื่นเต้นแต่เมื่อใช้งานไปได้ระยะหนึ่ง คุณจะลืมไปเลยว่าสวิตช์อยู่ตรงไหน และทุกระบบในบ้านยังสามารถรู้สถานะ ควบคุมได้จากระยะไกลผ่านสมาร์ทโฟน
ข้อสรุป
Smart Home หรือบ้านอัจฉริยะคือ การนำเทคโนโลยีมาปรับปรุงบ้านให้สามารถควบคุม และจัดการได้ง่ายขึ้น นำไปสู่การใช้ชีวิตที่สะดวกสบาย และปลอดภัยยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ควรคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูล ความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ และการดูแลรักษาอุปกรณ์ ในการใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์ที่ดีที่สุดในการใช้ชีวิตประจำวัน